งานนมัสการพระสมุทรเจดีย์ และ งานกาชาดจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2554

  • 12 ตอบ
  • 5060 อ่าน
*

ออฟไลน์ TRIPLE SSS

  • Prakan Power
  • แฟนบอลปราการ
  • 2,494
  • 91
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี  สยาม / ประเทศไทย  กับ  ญวน / เวียตนาม  มีเหตุให้ต้องระหองระแหงผิดข้องหมองใจกันอยู่บ่อยครั้ง ด้วยต่างฝ่ายก็ต้องการเป็น
ใหญ่ในประเทศเขมร  ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2362 สยามได้ข่าวว่า  "องต๋ากุน"  เจ้าเมืองญวน ณ ไซ่ง่อน  ได้ทำการขุดคลองลัดใหญ่ มีเนื้อที่ติดทะเลสาบเขมรเพื่อจะมาออกทะเลที่เมืองบันทายมาศ ใกล้ชิดกับอาณา
เขตสยามทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  รัชกาลเกรงว่าหากญวนกระทำการนี้สำเร็จ อาจจะยกกองทัพเรือเข้ามารุกรานหัวเมืองชายทะเล และ กรุงเทพฯ  ได้ง่ายดาย  จึงทรงดำริว่าสมุทรปราการเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้
มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  จึงโปรดเกล้าฯ  ให้สร้างเมืองสมุทรปราการที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามเวลาขึ้นมาใหม่โดยด่วน  ดำเนินการสร้างใหม่อยู่ 3 ปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2362 - 2365 พร้อมกับป้อมที่สร้างใน
ครั้งนั้นมี  6  ป้อม  ตามรายละเอียดด้านล่าง  โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้  พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์  (รัชกาลที่ 3)  กับ  เจ้าพระยาพระคลัง  (ดิศ บุญนาค)  เป็นแม่กองควบคุมงานก่อสร้างป้อมทั้ง 6 นั้น

1.  ป้อมประโคนชัย
2.  ป้อมนารายณ์ปราบศึก
3.  ป้อมปราการ
4.  ป้อมกายสิทธิ์
5.  ป้อมนาคราช
6.  ป้อมผีเสื้อสมุทร  (ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นป้อมที่เหลืออยู่อย่างสมบูรณ์เพียงป้อมเดียวเท่านั้น)

ครั้นก่อสร้างป้อมทั้ง 6 ป้อม สำเร็จเสร็จเรียบร้อยแล้ว  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชดำริว่า  ในการที่พระองค์ทรงสละพระราชทรัยพ์ก็เพื่อ  สวัสดิภาพของ  ชาติ และ  พระศาสนา
จึงควรจักได้มีอนุสาวรีย์ไว้ให้ปรากฏพระเกียรติยศสืบไป  ทรงเห็นเกาะหาดทรายอยู่ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร ซึ่งในขณะนั้น ป้อมผีเสือสมุทรเป็นเกาะกลางน้ำ  เหมาะแก่การที่ประดิษฐานพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ 

รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3)  กับ เจ้าพระยาพระคลัง  (ดิศ บุญนาค)  ร่วมกันเป็นแม่กองอำนวยการสร้าง  รัชกาลที่ 2 ทรงทอดพระเนตรและทรง
แก้ไขแบบพระเจดีย์จนพอพระราชหฤทัยแล้ว  ทรงเฉลิมพระนามว่า   "พระสมุทรเจดีย์"   คงจะมีพระราชประสงค์ให้เป็นคู่พระบารมี  และ  อยู่คู่กับเมืองสมุทรปราการ  แต่ยังมิทนที่รัชกาลที่ 2  จะได้ทรงสร้างองค์พระ
สมุทรเจดีย์ขึ้นตามพระราชประสงค์ รัชกาลที่ 2   ก็เสด็จสู่สวรรคตเสียก่อนในปี พ.ศ. 2367 

กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นครองราชย์ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสือบต่อมาทรงพระนามว่า  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งจักรีวงศ์  โปรดเกล้าฯ   ให้เจ้าพระยาศรีธรรมราช  กับ  เจ้าพระยาพระ
คลัง  เป็นแม่กองในการจัดสร้างจนแล้วเสร็จ  โดยมีราษฎรที่เจ้าอนุ เวียงจันทน์ คุมลงมาในการถวายพระเพลิงจำนวน 1,000 คน  ในการช่วยสร้างวางฐานรากขององค์พระสมุทรเจดีย์  ด้วยการตัดต้นตาล และ  ลำลียง
ต้นตาลมาจากจังหวัดเพชรบุรี และ  สุพวรรณบุรี  สิ้นพระราชทรัพย์ทั้งสิ้น  133 ชั่ง  10 ตำลึง  9 บาท สลึงเฟื้อง หรือ  10,689.37 บาท  (หนึ่งหมื่นหกร้อยแปดสิบเก้าบาทสามสิบเจ็ดสตางค์) เริ่มต้นการก่อสร้างเมื่อ
วันอังคาร ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12  ตรงกับวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370  สิ้นสุดการก่อสร้างเมื่อวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2371   รวมเวลาก่อสร้าง  7 เดือน  5 วัน    โดยมีการสมโภช
พระสมุทรเจดีย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2371 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยเสด็จมาทางชลมารถและได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทำการสมโภชอย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลา 5 วัน 5 คืน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2403 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จประพาสเมืองสมุทรปราการ เสด็จไปนมัสการพระสมุทรเจดีย์ด้วย ทรงดำริว่าพระสมุทรเจดีย์นี้มีความสำคัญมากนัก แต่รูปทรงต่ำเตี้ยด้วย
มีความสูงจากฐานถึงยอด ที่  13 วา 3 ศอก คืบ  หรือ  อยู่ที่ความสูง  27.75  เมตร  เท่านั้น  มองเห็นแล้วไม่สง่างาม  ควรจะสถาปนาให้พระสมุทรเจดีย์สูงใหญ่ขึ้นไปอีก  เพื่อ เรือของชาวต่างประเทศที่เข้ามาทางปาก
แม่น้ำเจ้าพระยา จะได้มองเห็นเด่นเป็นสง่าแต่ไกล  รัชกาลที่ 4 จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยาระวิวงศ์มหาโกษาธิบดีเป็นแม่กองคุมงาน  โดยได้เพิ่มส่วนสูงขึ้นไปอีก 6 วา จากของเดิม  รวมเป็นความสูง 19 วา
2 ศอก คืบ  หรือ  39.75  เมตร  ครั้นถึงวันจันทร์  แรม 4 ค่ำ  เดือนยี่  ตรงกับ  วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 4  ได้ทำการสมโภชเป็นงานใหญ่   จากนั้นอีกประมาณ  5  เดือน กิจการต่าง ๆ ของพระ
สมุทรเจดีย์ก็แล้วเสร็จสมบูรณ์  ณ  วันแรม 9 ค่ำ  เดือน 7 ตรีศก จุลศักราช 1223  ตรงกับ  วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2404  สิ้นพระราชทรัพย์ในการก่อสร้างทั้งสิ้น  588 ชั่ง หรือ 47,240 บาท (สี่หมื่นเจ็ดพันสองร้อย
สี่สิบบาทถ้วน)

พระสมุทรเจดีย์  หรือ  ผู้คนทั่วไปจะเรีกยกันติดปากว่า  พระเจดีย์กลางน้ำ  เนื่องจากเดิมบริเวณที่ก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์เป็นเกาะที่มีน้ำล้อมรอบ    แต่ต่อมาแผ่นดินได้งอกเพิ่มออกมาจนถึงในปัจจุบัน  ไม่มีสภาพเป็น
เกามะอีกต่อไป  ผู้คนสามารถเดินทางจากฝั่งบริเวณศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ  โดยใช้ท่าเรือวิบูลย์ศรี ที่ตั้งอยู่ในตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง  เป็นท่าเรือข้ามฟากจากตลาดปากน้ำ   ไปยังฝั่งอำเภอพระสมุทรเจีดีย์
โดยเรือจะขับวนอ้อมด้านเหนือ หรือ ด้านใต้  ป้อมผีเสื้อสมุทร  ซึ่งในบริเวณท่าเรือวิบูลย์ศรีฝั่งตลาดปากน้ำ จะมีร้านจำหน่ายขนมจาก (ใจ) สินค้าโอท็อปขึ้นชื่อประจำจังหวัดสมุทรปราการ 
   
งานนมัสการพระสมุทรเจดีย์ และ งานกาชาดจังหวัดสมุทรปราการ จะเริ่มจัดงานในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี  หรือ  หลังวันออกพรรษา 5 วัน  ซึ่งในปี 2554  นี้ จะเริ่มต้นจัดงานตั้งแต่  วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม
2554  ถึง  วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2554  โดยในวันเปิดงาน  วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2554 จะมีขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ไปตามถนน บริเวณศาลากลางจังหวัด โดยมีบรรดาข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และ
นักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ แต่งกายตามประเพณีไทยอย่างงดงาม  ต่อจากนั้นจะมีขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ลงเรือไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา  ไปที่อำเภอพระประแดงแล้ว  จึงนำกลับทางเรือ  เพื่อไปห่มรอบองค์
พระสมุทรเจดีย์  โดยปกติทั่วไป  ผ้าที่ห่มองค์พระสมุทรเจดีย์จะต้องเป็นสีแดง  แต่หากเห็นเป็นสีชมพู นั่นแสดงว่า สีแดงของผ้าลอกเพราะโดนแดดตากฝน  ในตอนกลางคืนจัดแสดงมหรสพสมโภช  มีการแสดงการ
ละเล่นต่าง ๆ ตลอดจนการออกร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ มากมาย  ซึ่ง  สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ  /  สมุทรปราการ เอฟซี  ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ    จะได้ทำการเปิดจำหน่ายสินค้า  เพื่อร่วม
เป็นส่วนหนึ่งของงานนมัสการพระสมุทรเจดีย์ และ งานกาชาดจังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี 2554 นี้ โดยจะทำการเปิดจำหน่าย วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2554 ถึง วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2554  ตั้งแต่เวลา  09.00 น.
ถึง 24.00 น.  กองเชียร์ป้อมปราการ และ ผู้สนใจทั่วไป  เชิญแวะชม ซื้อหา อุดหนุน จับจ่ายใช้สอย สินค้าต่าง ๆ ของสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ  ได้ตามวัน เวลา สถานที่  ตามแจ้ง
 

หมายเหตุ

1.  ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ จะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2554 เริ่มเวลา 08.00 - 09.30 น. โดยประมาณ  ซึ่งจะมีการปิดการจราจรห้ามรถทุกชนิดเข้าตลาดปากน้ำ และ ถนนบริเวณแยก
หอนาฬิกา  จนกว่าจะเสร็จสิ้นขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์

2.  งานนมัสการพระสมุทรเจดีย์ และ งานกาชาดจังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี 2554  จะมีตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2554  ถึง  วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2554  รวม 12 วัน 12 คืน
โดยงานจราจรจะมีการปิดเส้นทางการเดินรถที่จะเข้าตลาดปากน้ำ และ ถนนบริเวณหอนาฬิกา ถนนสุขุมวิท  ไม่อนุญาตให้รถประจำทาง  /  รถเมล์,  รถไม่ประจำทาง  /  รถบัส,  รถโดยสาร  และ  รถบรรทุกตั้งแต่ 6
ล้อ ขึ้นไป วิ่งเข้าไปในบริเวณตลาดปากน้ำโดยเด็ดขาด  เริ่มปิดการจราจรตั้งแต่เวลา  17.00 น.  ถึง  05.00 น. ของวันใหม่  จะอนุญาตให้เฉพาะรถขนาดเล็กวิ่งเข้าไปได้  เนื่องจากช่องการจราจรคับแคบจากการตั้ง
ร้านขายของในงาน  เพื่อความสะดวก โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว  หรือ  หันไปใช้ถนนศรีนครินทร์แทน

3.  ตั้งแต่มีงานนมัสการพระสมุทรเจดีย์และ งานกาชาดจังหวัดสมุทรปราการ แม้ว่าในแต่ละปี จะต้องเผชิญกับภาวะน้ำทะเลหนุนสูงทำให้น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาล้นเอ่อท่วมขังบริเวณงาน  แม้ว่าบางปีจะต้องประสบกับภาวะ
ฝนตกหนัก แต่ งานนมัสการพระสมุทรเจดีย์ฯ ก็จัดงานกันมาได้ทุกปี  จนเสร็จสิ้นงาน  มาพิสูจน์กันว่า  งานประจำปี 2554 นี้ ท่ามกลางสถานการณ์น้ำเหนือไหลบ่า  น้ำฝนตกกระหน่ำซ้ำเติม  ประกอบกับช่วงวันจันทร์
ที่ 17 ตุลาคม ถึง วันอังการที่ 18 ตุลาคม 2554 จะมีน้ำทะเลหนุนสูง  "3 น้ำ" รวมกันจะสามารถหยุดแรงศรัทธาของชาวปากน้ำ สมุทรปราการ  รวมถึงสาธารณชนทั่วไปที่ตั้งใจมาร่วมทำบุญนมัสการพระสมุทรเจดีย์ได้
หรือไม่ ท้องฟ้าขาวใสจะเปิดม่านนภาให้สว่างไสว เพื่อ รองรับแรงบุญแรงศรัทธาของชาวปากน้ำ สมุทรปราการ ให้สำเร็จลุล่วงผ่านพ้นไปได้ด้วยดี สมเจตนารมณ์ของคณะกรรมการจัดงานนมัสการพระสมุทรเจดีย์ และ
งานกาชาดจังหวัดสมุทรปราการ  ประจำปี  2554 

 
4.  สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ / สมุทรปราการ เอฟซี จะเปิดที่ทำการสโมสรฯ  ซึ่งตั้งอยู่ติดกับสถานีน้ำมันบางจาก  (ฝั่งตรงข้ามเป็นโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ) เพื่อจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ
ในวันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2554  ถึง  วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2554  ตั้งแต่เวลา  09.00  น.  ถึง  24.00  น.  หรือ  จนกว่าสินค้าสโมสรฯ  จะหมด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ตุลาคม, 11, 12:43:58 โดย TRIPLE SSS »

*

ออฟไลน์ เตเต้

  • ครอบครัวปราการ
  • แฟนบอลปราการ
  • 2,557
  • 37
  • ให้ทำไร ผมทำหมด เพื่อปราการ
ถ้าว่างจะไปช่วยแน่นอนครับ (ไปพร้อมเจ้าสุดยอด)
(http://image.ohozaa.com/view2/vUgSziPEEsfJX6QU)

*

ออฟไลน์ เชอร์รี่ค่ะ ก๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

  • ครอบครัวปราการ
  • แฟนบอลปราการ
  • 3,020
  • 36
  • ฝันให้ไกล..แล้วไปให้ถึง..จุดหมาย
(http://image.ohozaa.com/view2/vUgSziPEEsfJX6QU)

*

ออฟไลน์ โอ๋ เจ๋งเป้ง ปราการ

  • ครอบครัวปราการ
  • แฟนบอลปราการ
  • 1,773
  • 34
  • โอ๋ ปราการ FC ตัวยง
 :great:เจ๋งเป้งครับ.
(http://www.bcoms.net)

โอ๋..ปราการ..ตัวยง

*

ออฟไลน์ TUI 57 กลุ่มคนเรื่อยเปื่อย

  • ครอบครัวปราการ
  • แฟนบอลปราการ
  • 4,053
  • 30
  • มาเพื่อเชียร์ปราการ
ขอบคุณพี่เหน่งมากครับ ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้วๆ

*

ออฟไลน์ mixkymom

  • แฟนบอลปราการ
  • 133
  • 7
จะอยู่เป็นคนสุดท้าย ของเธออยู่ตรงนี้...

*

ออฟไลน์ 30 October

  • แฟนบอลปราการ
  • 444
  • 24
  • ไม่รัก แต่...คิดถึง
ขออนุญาตเจ้าของกระทู้เพิ่มเติมข้อมูลสักนิดครับ  :icon_adore:

แฟนบอลป้อมปราการของเรา มีใครนามสกุล “ รุ่งแจ้ง ”  ไม๊ครับ  ???
นามสกุลนี้เกี่ยวข้องกับ ผ้าแดงที่ห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ครับ...

ประเพณีห่มผ้าองค์พระสมุทรเจดีย์นั้น  ในสมัยก่อนเราใช้นักโทษปีนขึ้นไปห่มผ้าแดง
จนครั้งนึงเกิดอุบัติเหตุนักโทษตกลงมาบาดเจ็บสาหัส
จึงมีข้าราชการนายด่านภาษี ชื่อ ขุนอภัยภาษี  (บิดาพระยาราชายสาธก)
อาสาปีนขึ้นไปห่ม ทำอยู่หลายปีจนกระทั่งเสียชีวิต
ลูกหลานท่านที่มียศเป็นถึงพระยากันหมดแล้ว ก็เลยไม่มีใครกล้าอาสาขึ้นไปห่มให้

สุดท้ายเลยมีชาวบ้านทางฝั่งพระเจดีย์อาสาขึ้นไปห่ม ชื่อ นายรอด (ได้นามสกุลภายหลังว่า รุ่งแจ้ง)
ตั้งแต่นั้นมาทุกงานเจดีย์ก็จะให้นายรอดเป็นคนขึ้นไปห่ม
นายรอดได้ฝึกลูกชาย,ฝึกหลานชาย เป็นรุ่นๆ ขึ้นห่มเรื่อยมาจนกลายเป็นครอบครัวห่มผ้าแดงเป็นประเพณีของตระกูล
ปัจจุบันคนห่มผ้าแดงจะแบกผ้าแดงที่ม้วนเป็นเกลียวขึ้นไปคลี่ออกข้างบน แล้วทำการห่มรอบองค์พระเจดีย์
ทำงานเป็นทีม 4-6 คน  พื่อฝึกสมาชิกครอบครัวใหม่ไปเรื่อยๆ
คนหนุ่มที่สุดในตอนนี้เป็นลูกชายของเหลนนายรอด
คำนวนจากอายุหลานของนายรอด คนโตอายุประมาณ ๘๐ ปี (เสียชีวิตแล้ว)
ลูกของนายรอดถ้าแต่งงานหลังบวชก็ควรจะอายุเกิน ๑๐๐ ปี  ครอบครัวของนายรอดก็น่าจะห่มผ้าแดง  ต่อเนื่องมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปีแล้วครับ   :icon_adore:

อ่านกันเพลินๆนะครับ เรื่องของบ้านเกิดเราเอง  :smitten:



หัวใจดวงนี้ เป็นสีฟ้า-ขาว

*

ออฟไลน์ ★ตุลย์~ปืนเสือหมอบ★

  • ครอบครัวปราการ
  • แฟนบอลปราการ
  • 3,436
  • 83
  • ★ไม่มีใครโบก กูโบกเอง อลังการงานปราการ★
งานมันจะจัดได้มั้ยนั้น ฝนตกชุกเลย น้ำหนุนอีก
 [(cry)] [(cry)] [(cry)]
(http://image.ohozaa.com/view/4s2rf)
★ PURE 100% SAMUTPRAKAN FC ★ FORTEZZA = FORTRESSIAN

*

ออฟไลน์ ขออภัย, ชื่อที่คุณพยายามใช้, ถูกเซ็นเซอร์ กรุณาใช้ชื่ออื่น

  • ครอบครัวปราการ
  • แฟนบอลปราการ
  • 9,396
  • 159
  • อินเดียหน้าโจร
หลังวันที่18คงเบาใจกันได้บ้าง


*

ออฟไลน์ คุณหลวง หิมะ เฮฟวี่

  • ครอบครัวปราการ
  • แฟนบอลปราการ
  • 2,052
  • 82
  • ที่ปรึกษาฝ่ายกวนส้นตีนแก็ง"หิมะ"

*

ออฟไลน์ นางมารร้าย

  • ครอบครัวปราการ
  • แฟนบอลปราการ
  • 2,222
  • 37
สู้กันต่อไป ตราบใดที่ใจยังรัก

*

ออฟไลน์ อัฐยายไซร้หิมะยาย

  • ครอบครัวปราการ
  • แฟนบอลปราการ
  • 324
  • 4

*

ออฟไลน์ โอ๋ เจ๋งเป้ง ปราการ

  • ครอบครัวปราการ
  • แฟนบอลปราการ
  • 1,773
  • 34
  • โอ๋ ปราการ FC ตัวยง
(http://www.bcoms.net)

โอ๋..ปราการ..ตัวยง